วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2555

ประวัติ ประวัติบ้านบางเหรียง

               บ้านบางเหรียง ประวัติความเป็นมานั้น บางเหรียง แยกได้เป็น 2 ส่วน คือ คำว่า บาง หมายถึงลำคลอง คำว่าเหรียง หมายถึง ต้นเหรียง เพราะในสมัยก่อนมีต้นเหรียงอยู่ต้นหนึ่งมีขนาดลำต้นสูงใหญ่มากได้ขึ้นอยู่ที่ปากคลองบางเหรียงบริเวณทางแยกหรือทางเข้าลำคลอง ประกอบกับบริเวณใกล้เคียงหมู่บ้านนี้มี บาง หรือลำคลอง ประกอบกับบริเวณใกล้เคียงหมู่บ้านนี้มีบางหรือลำคลองไหลเรียงกันอยู่หลายสาย เช่น บางกล่ำ บางหยี บางเหรียงและปากบางภูมี โดยในระยะแรก ๆ ของการตั้งบ้านเรือน ได้ตั้งอยู่ตอนบนของคลองบางเหรียง ซึ่งมีต้นเหรียงขึ้นอยู่ที่ปากคลอง จึงทำให้ชาวบ้านแถวนี้เรียกว่า บ้านบางเหรียงในระยะต่อมา
             อดีตนั้นที่พื้นที่แห่งนี้ ประมาณ 30 ปีที่ผ่านมาที่แล้ว อาชีพหลักของคนบางเหรียงคือการปลูกพลู แต่เนื่องจากพลูราคาไม่ดี จึงเปลี่ยนไปปลูกผักแทนชาวบางเหรียงทำการเกษตรแบบพอเพียง มาตั้งแต่ในอดีต คือเหลือจากรับประทานในครอบครัว แล้วจึงนำไปขาย ทำให้แต่ละครอบครัวปลูกผักกันไม่มาก ปลูกกันในพื้นที่รอบๆ บริเวณบ้าน อย่างมากก็ประมาณ ครอบครัวละ 1-2 ไร่ เพราะถ้าปลูกมากๆ การดูแลศัตรูพืชจะทำได้ยาก เนื่องจากผักที่เราปลูกไม่ใช้สารเคมี ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น การดักจับแมลงด้วยน้ำมันเครื่อง เพราะชาวบ้านตระหนักดีถึงสุขภาพของผู้บริโภค โดยเฉพาะการบริโภคเอง ส่วนนี้จึงทำให้ผักบางเหรียงมีชื่อเสียงขึ้นมา มาถึงปัจจุบันการปลูกผักบางเหรียงแม้จะมีการตื่นตัวเรื่องการปลูกผักแบบผสมผสาน แต่ชาวบางเหรียงก็ยังยึดวิถีแบบดั้งเดิม คือปลูกกันครัวเรือนละไม่มากนัก และไม่ใช้สารเคมี
(หนังสือ ศึกษาตำนานชื่อบ้านในอำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา โดยสภาวัฒนธรรมอำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา 20:2538)
 ที่ตั้ง   
ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ได้จัดตั้งตามพระราบบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มีเนื้อที่ประมาณ 69.97 ตารางกิโลเมตร (43,371 ไร่) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ว่าการอำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลาระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอควนเนียง ประมาณ 8 กิโลเมตร มีอาณาเขต ดังนี้
 
ทิศเหนือ ติดต่อ องค์การบริหารส่วนตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง
ทิศใต้ ติดต่อ องค์การบริหารส่วนตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ




ทิศตะวันออก ติดต่อ องค์การบริหารส่วนตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ
ทิศตะวันตก ติดต่อ  องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ
ภูมิประเทศ มีสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง และที่ราบลุ่ม มีการปลูกยางพารา ทำการเกษตรกรรม มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรณ์ที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับการทำการเกษตรกรรม และมีพื้นที่บางส่วนติดกับทะเลสาบสงขลา เหมาะสำหรับประมงชายฝั่งทะเล และเหมาะสำหรับพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สามารถจำแนกภูมิประเทศได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่
 1. ที่เนิน ประกอบด้วย หมู่ที่ 9 หมู่ที่ 11 และหมู่ที่ 13 พื้นที่เหมาะแก่การปลูกยางพารา
2. ที่ราบ ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 10 พื้นที่เหมาะแก่การทำสวนผักและนาข้าว
3. ที่ลุ่ม ประกอบด้วย หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 12 พื้นที่เหมาะแก่การทำสวนผัก นาข้าว เลี้ยงปลา ประมงชายฝั่ง
จำนวนหมู่บ้าน 13 หมู่บ้าน
ม.1 บ้านคลองค้า
ม.2 บ้านยางหัก
ม3 บ้านบางเหรียง
ม4 บ้านบางเหรียงบน
ม5 บ้านบางเหรียงใต้
ห6 บ้านเกาะน้ำรอบ
ม7 บ้านบางทีง
ม8 บ้านเกาะใหญ่
ม9 บ้านคลองช้าง
ม10 บ้านโหล๊หนุน
ม11 บ้านแพรกสุวรรณ
ม 12 บ้านโคกเมือง
ม13 บ้านหน้าควน
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,288 ครัวเรือน ประชากรรวม 9,036 ชาย 4,430 คน หญิง 4,6068o
(ข้อมูลทะเบียนอำเภอควนเนียง 30 กย 51)





อาชีพ
อาชีพการเกษตร ปลูกยางพารา ปลูกผัก ทำนาข้าว ร้อยละ 67.08
อาชีพประมง ร้อยละ 0.62
อาชีพค้าขาย ร้อยละ 8.49
อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 18.10
การรวมกลุ่มของประชาชน
กลุ่ม อสม 13 กลุ่ม
กลุ่มออมทรัพย์ 15 กลุ่ม
กลุ่มแม่บ้าน 13 กลุ่ม
กลุ่มประกอบอาชีพเสริม 9 กลุ่ม
กลุ่มเกษตร 7 กลุ่ม
กลุ่มอาชีพเศรษฐกิจชุมชน 22 กลุ่ม
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 1 แห่ง
(แผนพัฒนาสามปี 2553 2555 องค์การบริหารส่วนตำบลบางเหรียง ม 8 ต บางเหรียง อ ควนเนียง จ สงขลา หน้า 4-7 2552)
ปัญหาของชุมชนบางเหรียงก่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 10
เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ลุ่ม อันหมายถึง การทำการเกษตสวนผัก และนาข้าว นั้นเมื่อเกิดอุทกภัยทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิต รวมถึงปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการอาชีพ ซึ่งส่งผลต่อระบบการดำเนินชีวิต
ปัญหาที่เกิดจากการพัฒนา
เมื่อเกิดการพัฒนาขึ้นภายพื้นที่จากการที่รัฐเข้ามาช่วยชาวบ้านโดยการนำมาซึ่งงบประมาณ มาลงในพื้นที่ นั้น ผลที่เกิดทำให้ชาวบ้านได้ดำเนินตามแผนงบประมาณ ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่ยากจน สิ่งที่เกิด ขึ้น คือสิ่งก่อสร้าง หรือการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ เมื่องบประมาณหมดการขับเคลื่อนของภาคประชนจึงไม่เกิดขึ้น อันเป็นปัญหาเรื้อรังที่ภาครัฐผ่านงบประมาณแต่ไม่สนใจ ทำให้บางโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับการดำรงชีพขาดการเชื่อมต่อ
 การต่อสู้ของชุมชนเพื่อความอยู่รอด
การรวมกลุ่มหลังจากนั้นจึงเกิดขึ้นก่อนปี 2544 เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่เห็นว่า พืชผลการผลิต ถูกนายทุน เข้ามากดราคาและเสียเปรียบในขบวนการซื้อขาย จึงเกิดกลุ่มต่างๆในบริบทของอาชีพ ได้ แก่กลุ่มเครือข่ายปลูกผักปลอดสารพิษ ซึ่งในเบื้องแรกรวมกัน 15 คน หลังจากนั้นจึงได้ขยายจำนวนบุคคลเข้ามาในกลุ่ม กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ อีกทั้ง ชาวบ้านยังยึดหลักแห่งการพึ่งตนเอง โดยการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นซึ่งมีขึ้นทุกหมู่บ้านกลุ่มออมทรัพย์ 15 กลุ่มกลุ่มอาชีพเศรษฐกิจชุมชน 22 กลุ่มกลุ่มแม่บ้าน 13 กลุ่มกลุ่มประกอบอาชีพเสริม 9 กลุ่ม เป็นต้นซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะชุมชนเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น