1.สภาพทางภูมิศาสตร์
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง และที่ราบลุ่ม มีการปลูกยางพารา
ทำการเกษตรกรรม มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม
และมีพื้นที่บางส่วนติดกับทะเลสาบสงขลา เหมาะสำกรับการทำประมงชายฝั่ง
และเหมาะสำหรับพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
การติดต่อราชการของประชาชนในตำบลบางเหรียงในอดีต
ในอดีตที่ว่าการรัตภูมิ
ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่3ตำบลรัตภูมิ (ปากบางภูมี)
เมื่อทางกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือประชาชนมีความจำเป็นต้องการที่จะติดต่อราชการกับอำเภอ
ต้องอาศัยเรือพาย เรือแจวหรือ
เรือหางยาวใช้ล่องไปตามลำคลองบางกล่ำหรือคลองบางเหรียง
แล้วออกไปทางทะเลสาบสงขลาด้านในแล้วเข้าสู่คลองปากบางภูมีหลังจากนั้นก็เดินด้วยเท้าเข้าไปอำเภอรัตภูมิเพื่อติดต่อราชการหรือชาวบ้านบางคนก็เดินด้วยเท้าเปล่า
ผ่านทางบ้านโคกเมืองเข้าสู่บ้านปากบางภูมีเพื่อไปติดต่อราชการที่อำเภอรัตภูมิ
ในส่วนของชาวบ้านที่จะต้องไปติดต่อราชการกับจังหวัดก็ใช้เรือแจว เรือยนต์ เรือหางยาวไปทางคลองบางเหรียงหรือคลองบางกล่ำ
ลองออกทางทะเลสาบสงขลาและล่องต่อเข้าช่องเขาเขียวและไปขึ้นทางเทียบเรือเพื่อไปติดต่อราชการ
จังหวัดในสถานที่ราชการต่างๆ เช่น ศาลากลางจังหวัด ศาลจังหวัด
3.ที่ตั้งอาณาเขต
· ตำบลบางเหรียง
ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา มีลักษณะ
เป็นที่เนินราบและลุ่ม โดยเรียงกันมาจากที่สูงหรอควน และที่ราบ
สุดท้ายที่ลุ่มระบายน้ำส่งสู่ ทะเลสาบสงขลา อยู่ห่างจากอำเภอควนเนียงประมาณ ๕
กิโลเมตร มีพื้นที่โดยประมาณ ๖๙.๙๗ ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ โดยประมาณ ๔๓,๗๓๑ ไร่ มีอาณาเขตดั่งนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อ องค์การบริหารส่วนตำบลรัตภูมิ
อำเภอควนเนียง
ทิศใต้
ติดต่อ องค์การบริหารส่วนตำบลบางกล่ำ
อำเภอบางกล่ำ
ทิศตะวันออก
ติดต่อ องค์การบริหารส่วนตำบลบางกล่ำ
อำเภอบางกล่ำ
ทิศตะวันตก ติดต่อ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ
การปกครองตำบลบางเหรียงตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน
มีผู้ปกครองซึ่งเป็นกำนันประจำ ตำบล จำนวน ๘ คน โดยเริ่มจากกำนันคนแรก คือ หมื่นแย้ม
พวงแก้ว และต่อด้วย ขุนฤทธิ์ ฤทธิ์บูรณ์ กำนันฤทธิ์ บุญมะโน กำนันห้องฤทธิ์ กันตะพงษ์
กำนันซู้ รจนาสุวรรณ (อิ้วหะซั้ว) กำนันสงค์ รักจิตร กำนันชวน ไชยงาม ตามลำดับและกำนันคนปัจจุบันคือ
นายบุญศิลป์ เกิดศรี ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น ๑๓ หมู่บ้าน ประกอบด้วย
หมู่ที่
1 บ้านคลองคล้า
หมู่ที่ 2 บ้านยางหัก
หมู่ที่ 3 บ้านบางเหรียง
หมู่ที่ 4 บ้านบางเหรียงบน
หมู่ที่ 5 บ้านบางเหรียงใต้
หมู่ที่ 6 บ้านเกาะน้ำรอบ
หมู่ที่ 7 บ้านบางทีง
หมู่ที่ 8 บ้านเกาะใหญ่
หมู่ที่ 9 บ้านคลองช้าง
หมู่ที่ 10 บ้านโหล๊ะหนุน
หมู่ที่ 11 บ้านแพรกสุวรรณ
หมู่ที่ 12 บ้านโคกเมือง
หมู่ที่ 13 บ้านหน้าควน
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ กระทรวงมหาดไทยได้ออกพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การ
บริหารสวนตำบลมีผลให้การยกฐานะทางด้านการพัฒนาตำบลจากสภาตำบลบางเหรียงเป็น
องค์การบริหารส่วนตำบลบางเหรียง โดยตำแหน่งคือ นายบุญศิลป์ เกิดศรี และปัจจุบัน
คือ นายนิกร ยางทอง ซึ่งมาจาการเลือกตั้งของ ประชาชน ตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ และปัจจุบันได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลบางเหรียงเป็นเทศบาลตำบลบางเหรียง
เมื่อวันที่………… 2555 ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาล
พ.ศ. 2542 ซึ่งได้รับการจัดตั้งโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2499 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ 45 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2499
และมีการเลือกตั้ง นายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลตำบลบางเหรียง
ซึ่งประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร 4 คน สมาชิกสภาเทศบาล เขต 1 จำนวน4คน เขต 2 จำนวน 4คน ซึ่งผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งนายเวียง จันทฤทธิ์
ได้รับการเลือกตั้งมาเป็นนายกเทศมนตรีตำบลบางเหรีบงคนแรก หมายเหตุ. กกต ยังไม่รับรอง
3.ภูมิประเทศ
มีสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง
และที่ราบลุ่ม มีการปลูกยางพารา ทำการเกษตรกรรม มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรณ์ที่อุดมสมบูรณ์
เหมาะสำหรับการทำการเกษตรกรรม และมีพื้นที่บางส่วนติดกับทะเลสาบสงขลา
เหมาะสำหรับประมงชายฝั่งทะเล
และเหมาะสำหรับพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
สามารถจำแนกภูมิประเทศได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่
![]() |
1. ที่เนิน ประกอบด้วย หมู่ที่ 9 หมู่ที่ 11 และหมู่ที่ 13 พื้นที่เหมาะแก่การปลูกยางพารา

![]() |
3. ที่ลุ่ม ประกอบด้วย หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 12 พื้นที่เหมาะแก่การทำสวนผัก นาข้าว เลี้ยงปลา ประมงชายฝั่ง
4.การศึกษา
สถานศึกษาในตำบลบางเหรียงประกอบด้วยโรงเรียน
ระดับประถมศึกษา 7 แห่ง โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 1
แห่ง ศูนย์การเรียนรู้และข้อมูลข่าวสาร ชุมชน 2 ศูนย์ - ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 8 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 แห่ง ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต
1 แห่ง วิทยุชุมชน 1แห่ง
หอกระจายข่าวสาร 11แห่ง
โรงเรียนระดับประถมศึกษา 7 แห่ง ประกอบไปด้วย
1 โรงเรียน บ้านหน้าควน หมู่บ้าน หน้าควน
ตำบล บางเหรียง อำเภอ ควนเนียง จังหวัด สงขลา เบอร์โทร 074300101 สังกัด สพป.สงขลา เขต 2 จำนวนนักเรียน : 125 คน จำนวนครู : 9 คน
2 โรงเรียน บ้านเกาะนํ้ารอบ หมู่บ้าน
เกาะน้ำรอบ ตำบล บางเหรียง อำเภอ ควนเนียง จังหวัด สงขลา เบอร์โทร 074470045 สังกัด : สพป.สงขลา เขต 2 จำนวนนักเรียน : 26 คน จำนวนครู : 2 คน
3 โรงเรียน บ้านคลองช้าง หมู่บ้าน คลองช้าง
ตำบล บางเหรียง อำเภอ ควนเนียง จังหวัด สงขลา เบอร์โทร 074300223 สังกัด : สพป.สงขลา เขต 2 จำนวนนักเรียน : 97 คน จำนวนครู : 9 คน
4 โรงเรียน บ้านเกาะใหญ่ หมู่บ้าน เกาะใหญ่
ตำบล บางเหรียง อำเภอ ควนเนียง จังหวัด สงขลา เบอร์โทร 074212165 สังกัด : สพป.สงขลา เขต 2 จำนวนนักเรียน : 156 คน
จำนวนครู 11คน
5 โรงเรียน บ้านโคกเมือง หมู่บ้าน โคกเมือง
ตำบล บางเหรียง อำเภอ ควนเนียง จังหวัด สงขลา เบอร์โทร 074554191 สังกัด สพป.สงขลา เขต 2 จำนวนนักเรียน : 76 คน
จำนวนครู : 7 คน
6 โรงเรียน บ้านคลองคล้า หมู่บ้าน คลองคล้า
ตำบล บางเหรียง อำเภอ ควนเนียง จังหวัด สงขลา เบอร์โทร 074300173 สังกัด สพป.สงขลา เขต 2 จำนวนนักเรียน : 84 คน จำนวนครู :
5 คน
7 โรงเรียน บ้านบางเหรียง หมู่บ้าน บางเหรียง
ตำบล บางเหรียง อำเภอ ควนเนียง จังหวัด สงขลา เบอร์โทร 074581628 สังกัด : สพป.สงขลา เขต 2 จำนวนนักเรียน : 286 คน จำนวนครู : 17 คน
นักเรียน ม.ต้น : 75
8 โรงเรียน วัดบางทีง หมู่บ้าน บางทีง ตำบล
บางเหรียง อำเภอ ควนเนียง จังหวัด สงขลา เบอร์โทร 074328151 สังกัด
: สพป.สงขลา เขต 2 จำนวนนักเรียน : 95 คน จำนวนครู :
6 คน
สืบค้นข้อมูลจาก http://school.thaiwebdb.com
5.ประชากร ครัวเรือน
องค์การบริหารส่วนตำบลบางเหรียง
มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 2,249 ครัวเรือน มีประชากรรวม
จำนวน ทั้งสิ้น9,012 คน แยกเป็นชาย 4.406คน หญิงจำนวน 4,606คน ความหนาแน่น 129คน ต่อ ตารางกิโลเมตร
หมู่ที่ 1 บ้านคลองคล้า
จำนวนครัวเรือน 205 ครัวเรือน จำนวนประชากรชาย 339 หญิง 374 รวม 715
หมู่ที่ 2 บ้านยางหัก
จำนวนครัวเรือน 130 ครัวเรือน จำนวนประชากรชาย 225 หญิง 304 รวม 559
หมู่ที่ 3 บ้านบางเหรียง
จำนวนครัวเรือน 282 ครัวเรือน จำนวนประชากรชาย 571 หญิง 631 รวม 1,202
หมู่ที่ 4 บ้านบางเหรียงบน
จำนวนครัวเรือน 123 ครัวเรือน จำนวนประชากรชาย 232 หญิง 224รวม 454
หมู่ที่ 5 บ้านบางเหรียงใต้
จำนวนครัวเรือน 147 ครัวเรือน จำนวนประชากรชาย 284 หญิง 294 รวม 578
หมู่ที่ 6 บ้านเกาะน้ำรอบ
จำนวนครัวเรือน 71 ครัวเรือน จำนวนประชากรชาย 137 หญิง 126 รวม 263
หมู่ที่ 7 บ้านบางทีง
จำนวนครัวเรือน 114 ครัวเรือน จำนวนประชากรชาย 248 หญิง 271 รวม 519
หมู่ที่ 8 บ้านเกาะใหญ่
จำนวนครัวเรือน 216 ครัวเรือน จำนวนประชากรชาย 426 หญิง 507 รวม 933
หมู่ที่ 9 บ้านคลองช้าง
จำนวนครัวเรือน 186 ครัวเรือน จำนวนประชากรชาย 281 หญิง 310 รวม 591
หมู่ที่ 10 บ้านโหล๊ะหนุน
จำนวนครัวเรือน 325 ครัวเรือน จำนวนประชากรชาย 703 หญิง 678 รวม 1,381
หมู่ที่ 11 บ้านแพรกสุวรรณ
จำนวนครัวเรือน 179 ครัวเรือน จำนวนประชากรชาย 376 หญิง 378 รวม 754
หมู่ที่ 12 บ้านโคกเมือง
จำนวนครัวเรือน 130 ครัวเรือน จำนวนประชากรชาย 282 หญิง 2 รวม 549
หมู่ที่ 1 บ้านหน้าควน
จำนวนครัวเรือน 141 ครัวเรือน จำนวนประชากรชาย 272 หญิง 242 รวม 514
รวม
2,249 ครัวเรือน 4,406 4,606 9,012
ที่มา :
ข้อมูลฝ่ายทะเบียนอำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่31ตุลาคม
2550
6.เศรษฐกิจ
อาชีพ
อาชีพการเกษตร ปลูกยางพารา ปลูกผัก ทำนาข้าว
ร้อยละ 67.08
อาชีพประมง ร้อยละ 0.62
อาชีพค้าขาย ร้อยละ 8.49
อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 18.10
7.สังคมและวัฒนธรรม
ประชากรส่วนใหญ่เป็นไทยพุทธและเป็นคนไทยเชื้อสายจีนมีวัฒนธรรมที่สอดคล้องกันรวมถึงการยึดถือประเพณีที่สืบทอดมาของคนในท้องถิ่น
8.ศาสนา
ตำบลบางเหรียงชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
ดังนั้นศาสนาสถานจึงตั้งอยู่ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเหรียง อันประกอบไปด้วย
วัดเกาะใหญ่ ตำบลบางเหรียง
วัดโคกเมือง ตำบลบางเหรียง
วัดบางทีง ตำบลบางเหรียง
วัดบางเหรียง ตำบลบางเหรียง
วัดแพรกสุวรรณ ตำบลบางเหรียง
วัดแสงอรุณ ตำบลบางเหรียง
ที่พักสำนักสงฆ์ 3 แห่ง
สำนักแม่ชี 1 แห่ง
สืบค้นจาก http://th.wikipedia.org/wiki
9.ประเพณี
ประเพณีตรุษจีน
ประเพณีวันสาทรเดือนสิบ
วันชักพระ
วันลอยกระทง
10.กลุ่มต่างๆ
กลุ่ม อสม 13 กลุ่ม
กลุ่มออมทรัพย์ 15 กลุ่ม
กลุ่มแม่บ้าน 13 กลุ่ม
กลุ่มประกอบอาชีพเสริม 9 กลุ่ม
กลุ่มเกษตร 7 กลุ่ม
กลุ่มอาชีพเศรษฐกิจชุมชน 22 กลุ่ม
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 1 แห่ง
(แผนพัฒนาสามปี 2553 – 2555
องค์การบริหารส่วนตำบลบางเหรียง ม 8 ต บางเหรียง อ ควนเนียง จ สงขลา หน้า 4-7 – 2552)
11.โครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคม : ตำบลบางเหรียงสามารถใช้ เส้นทางการคมนาคมได้ 3 ทางในการติดต่อและการขนส่ง คือ ทางรถยนต์ ทางรถไฟ และทางเรือ ในส่วนเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางเหรียง
มีถนนสายหลักสามารถติดต่อกันได้อย่างสะดวก มีถนนลาดยางและถนนลูกรังสายหลักและสายย่อย
ดังนี้
- ถนนลาดยาง 7 สาย
- ถนนคอนกรีต 8 สาย
- ถนนลูกรัง 60 สาย
ทางรถไฟ มีสถานีรถไฟ 1 แห่ง คือ สถานีรถไฟบ้านเกาะใหญ่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8
ทางเรือ
เป็นเรือส่วนบุคคลซึ่งเป็นเรือที่ใช้ในการประกอบอาชีพในการประมง สามารถเดินทาง
ไปยังบ้านคูเต่า ปากบางภูมี บ้านเกาะยอ บ้านหัวเขาแดง และบ่อยาง (สงขลา)
ซึ่งในอดีตการคมนาคมทางเรือสำคัยมากในการเดินทางชาวบ้านจะใช้เรือใบและเรือยนต์
โดยใช้คลองบางเหรียงและคลองบางกล่ำในการเดินทาง
ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมากในอดีตอีกทั้งยังเป็นการขนส่งอ้อย พลู
ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรกรรมของชาวบางเหรียงไปขายที่บ่อยาง(สงขลา)
13.การสื่อสาร
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 26 แห่ง
- หอกระจายข่าว 13 แห่ง
-คลื่นโทรศัพท์มือถือ datc true ais
cdma
14.สาธารณะสุข
มีจำนวน 2 แห่ง
สถานีอนามัยบางเหรียง หมู่ที่ 4
สถานีอนามัยเกาะใหญ่ หมู่ที่ 8
- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน 13 แห่ง
15.ทรัพยากร
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางเหรียง
- พื้นที่ติดกับทะเลสาบสงขลา ประมาณ 5 กิโลเมตร
- พื้นที่ป่าสงวน ประมาณ 14,000 ไร่
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- คลอง 5 สาย
- ห้วย 7 สาย
- หนอง 8 แห่ง
16.อ้างอิงและบรรณานุกรม